สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
แผนผังตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
1. ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ จัดตั้งขึ้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2539 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอพิมาย ห่างจากที่ว่าการอำเภอพิมาย เป็นระยะทาง 16 กิโลเมตร ที่ทำการตั้งอยู่ เลขที่ 109 หมู่ที่ 5 ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 0-4496-6074-5 เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ www.dongyaikorat.go.th และ E-mail : dongyaikorat@gmail.com
มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกระชอน อำเภอพิมาย
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโบสถ์ อำเภอพิมายและตำบลประสุข อำเภอชุมพวง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองหลัก อำเภอชุมพวง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลชีวาน ตำบลท่าหลวง อำเภอพิมาย
2. ลักษณะภูมิประเทศ
องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับทำการเกษตรเพราะมีแหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำมูล ลำน้ำเค็ม และคลองชลประทานไหลผ่านมีโครงการชลประทานทุ่งสัมฤทธิ์ช่วยส่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ซึ่งแหล่งน้ำดังกล่าวได้มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในทางการเกษตรและอุปโภคบริโภคของราษฎรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ได้ตลอดทั้งปี
3. ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู
– ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม
– ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน – กันยายน
– ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม – มกราคม
4. ลักษณะของดิน
ทรัพยากรธรณี ลักษณะทางกายภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ประกอบด้วยคลองส่งน้ำชลประทานและคลองส่งน้ำเล็กหลายสาย ดินในเขตตำบลดงใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย และดินทราย มีลักษณะการกักเก็บน้ำปานกลาง ใช้ทำนา ปลูกพืชผักผลไม้ บางส่วนจะเป็นดินทรายและดินที่มีสภาพเป็นเกลือ จึงได้นำทรัพยากรเหล่านี้ไปใช้ตำบลดงใหญ่ มีทรายเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่ที่มีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
5. ลักษณะของแหล่งน้ำ
ทรัพยากรน้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำมูลและลำน้ำเค็ม และมีโครงการชลประทานทุ่งสัมฤทธิ์ช่วยส่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์
1. แหล่งน้ำธรรมชาติ
ลำน้ำ, ลำห้วย, แม่น้ำ 19 สาย บึง, หนอง, และอื่น ๆ 38 แห่ง
2. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ฝาย 4 แห่ง บ่อน้ำ 267 แห่ง ประปา 5 แห่ง
6. ลักษณะของไม้และป่าไม้
ทรัพยากรป่าไม้ ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ โดยทั่วไปเป็นพื้นที่แบบป่าโปร่ง แต่ในปัจจุบันถูกราษฎรบุกรุกทำเป็นที่ทำกิน เผาถ่าน ทำเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ ลักษณะป่าอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ จึงรณรงค์ให้มีการปลูกป่าและทำแนวเขตที่สาธารณะ
2. ด้านการเมือง / การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
ตำบลดงใหญ่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน
1 บ้านดงใหญ่ 198
2 บ้านโนนโชงโลง 173
3 บ้านศาลา 308
4 บ้านข่อยงาม 157
5 บ้านดงใหญ่ 311
6 บ้านขามใต้ 146
7 บ้านกล้วย 154
8 บ้านโนนขาม 171
9 บ้านมะกอก 147
10 บ้านซาด 270
11 บ้านสำโรงช่องแมว 81
12 บ้านรัตนภพ 200
13 บ้านดงเย็น 165
14 บ้านโนนกุ่ม 102
15 บ้านโนนกระเพรา 46
16 บ้านโนนซาดไผ่ล้อม 79
17 บ้านดงใหญ่พัฒนา 118
18 บ้านกล้วยสามัคคี 138
19 บ้านใหม่โนนโชงโลง 58
20 บ้านเก่าพัฒนา 132
2.2 เขตการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ตำบลดงใหญ่ มีจำนวน 20 หมู่บ้าน จะมีผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้ง) จำนวน 1 คน มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้หมู่บ้านละ 2 คน จำนวน 20 หมู่บ้าน รวมเป็น 40 คน
……………………………………………………………….
สภาพทางสังคม
1. การศึกษา
ด้านการศึกษา
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงใหญ่ สังกัด อบต.ดงใหญ่ จำนวนนักเรียน 57 คน ครูผู้ดูแลเด็ก 2 คน ผู้ดูแลเด็ก 1 คน
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนโชงโลง สังกัด อบต.ดงใหญ่ จำนวนนักเรียน 30 คน ครูผู้ดูแลเด็ก 1 คน ผู้ดูแลเด็ก 1 คน
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกล้วย สังกัด อบต.ดงใหญ่ จำนวนนักเรียน 28 คน ครูผู้ดูแลเด็ก 1 คน ผู้ช่วยผู้ดูแลเด็ก 1 คน
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านมะกอก สังกัด อบต.ดงใหญ่ 20 คน ครูผู้ดูแลเด็ก 1 คน ผู้ช่วยผู้ดูแลเด็ก 1 คน
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลา สังกัด อบต.ดงใหญ่ 19 คน ผู้ดูแลเด็ก 1 คน ผู้ช่วยผู้ดูแลเด็ก 1 คน
2. โรงเรียนประถมศึกษา(อนุบาล–ป.6)
– โรงเรียนบ้านศาลา สพฐ. เขต 7 จำนวนนักเรียน 78 คน
– โรงเรียนบ้านขามใต้ สพฐ. เขต 7 จำนวนนักเรียน 40 คน
– โรงเรียนบ้านมะกอก สพฐ. เขต 7 จำนวน 156 คน
– โรงเรียนบ้านกล้วย สพฐ. เขต 7 จำนวนนักเรียน 208 คน
– โรงเรียนบ้านโนนโชงโลง สพฐ. เขต 7 จำนวนนักเรียน 245 คน
– โรงเรียนบ้านดงประชานุกุล สพฐ. เขต 7 จำนวนนักเรียน 383 คน
3. ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน อบต.ดงใหญ่ 20 แห่ง
4. ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลดงใหญ่ ของ กศน. อ.พิมาย 1 แห่ง ของ อบต.ดงใหญ่ 1 แห่ง
2. สาธารณสุข
สาธารณสุข
โรงพยาบาลของรัฐ – แห่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบล 2 แห่ง
สถานพยาบาลเอกชน 3 แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน – แห่ง
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100 เปอร์เซนต์
3. อาชญากรรม
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สถานีตำรวจภูธร 1 แห่ง
ตู้ยามตำรวจ 1 แห่ง
ศูนย์ประสานงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 1 แห่ง
ป้อมยามอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนประจำหมู่บ้าน 20 แห่ง
มวลชนจัดตั้ง
ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น 565 คน
ไทยอาสาป้องกันชาติ 4 รุ่น 116 คน
กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ 3 รุ่น 56 คน
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 7 รุ่น 535 คน
ตำรวจหมู่บ้าน/ชุมชน 3 รุ่น 28 คน
อสม. 343 คน หมอพื้นบ้าน 27 คน
4. ยาเสพติด
เยาวชนที่ติดยาเสพติด – คน
เยาวชนที่ได้รับการบำบัดยาเสพติด – คน
5. การสังคมสงเคราะห์
ผู้สูงอายุ 1,906 คน
ผู้พิการ 424 คน
ผู้ที่ติดเชื้อ H.I.V. 19 คน
ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน พ.ศ.2562
………………………………………………………………….
สภาพทางเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ
1. การเกษตร
ผลผลิตทางการเกษตรของตำบลดงใหญ่ ที่ทำเป็นรายได้หลักให้แก่ประชาชน ได้แก่ ข้าว แตงโม เมล็ดพันธุ์ปอเทือง และมีพืชผักผลไม้เป็นบางส่วน
2. การประมง
ประชากรบางส่วนมีการเลี้ยงปลา เพื่อขยายและจำหน่ายพันธุ์ปลา ไม่มีการทำประมงรายใหญ่ มีเพียงหาปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อบริโภคและจำหน่ายบ้างเป็นส่วนน้อย
3. การปศุสัตว์
ประชากรส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ ไก่ เป็ด สุกร เป็นการเลี้ยงแบบปะปนกับที่อยู่อาศัยและเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมในบางราย
4. การบริการ
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่
ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 9 แห่ง
โรงสี 13 แห่ง
ท่าทราย – แห่ง
ร้านค้า 104 แห่ง
ร้านอาหาร 25 แห่ง
อู่ซ่อมรถ 13 แห่ง
โรงเลี้ยงหมู 6 แห่ง
ร้านตัดผม 6 แห่ง
ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน พ.ศ.2562
5. การท่องเที่ยว
ตำบลดงใหญ่มีแหล่งท่องเที่ยว 3 แห่ง
1. วัดดงใหญ่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา เป็นวัดที่สวยงาม เหมาะสำหรับทำบุญ ถ่ายรูป และมีสวนสาธารณะไทรงาม มีสระน้ำขนาดใหญ่ สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย
2. แหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาวัดบ้านกล้วย มีลำน้ำเค็มเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ มีปลาพันธุ์ต่าง ๆ มาอาศัยอยู่บริเวณสะพานปลา ซึ่งชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้ไม่ให้มีการจับสัตว์น้ำบริเวณนั้น ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชน
3. สวนไทยศิลป์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเอกชน มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำมูล เหมาะสำหรับพักผ่อน เล่นน้ำ คลายร้อนในช่วงเทศกาลสงกรานต์
6. อุตสาหกรรม
ตำบลดงใหญ่ อาชีพส่วนใหญ่ทำการเกษตร ปลูกข้าว ทำไร่อ้อย เลี้ยงสัตว์ แต่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมในการผลิตสินค้าทางการเกษตร อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่
7. การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ตำบลดงใหญ่มีกลุ่มอาชีพหลากหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มขยายพันธุ์ข้าว กลุ่มทำข้าวกล้องงอก กลุ่มตำข้าวเม่า กลุ่มทอเสื่อกก กลุ่มทอผ้า กลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มเลี้ยงสุกร กลุ่มเลี้ยงเป็ดไข่ กลุ่มทำดอกไม้ประดิษฐ์- ดอกไม้จัน กลุ่มแปรรูปอาหาร ฯลฯ
จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน แห่ง
กลุ่มอาชีพ OTOP ของตำบล 2 แห่ง
8. แรงงาน
– ประชากรตำบลดงใหญ่ร้อยละ 30 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ได้แก่ รับจ้างทำการเกษตรต่าง ๆ และรับจ้างทั่วไป
– ประชากรตำบลดงใหญ่ร้อยละ 2.7 ประกอบอาชีพค้าขาย ได้แก่ ร้านขายของชำประจำหมู่บ้าน
– ประชากรตำบลดงใหญ่ร้อยละ 0.3 ประกอบอาชีพรับราชการ ได้แก่ ข้าราชการครู ตำรวจ ทหาร สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ประจำอนามัย ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ฯลฯ
อาชีพเสริม
– ประชากรตำบลดงใหญ่ส่วนใหญ่จะมีการทำนา นอกฤดูกาลมีการทำนาปรังโดยอาศัยน้ำที่สูบจาก แม่น้ำมูล ลำน้ำเค็มโดยยืมเครื่องสูบน้ำจากชลประทานและองค์การบริหารส่วนจังหวัด
– ประชากรตำบลดงใหญ่บางส่วนมีอาชีพรับจ้างและค้าขาย ช่วงหลังฤดูการเก็บเกี่ยวเกษตรกรตำบล ดงใหญ่ จะปลูกแตงโมและปอเทืองในที่นาตนเองเป็นอาชีพเสริม องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ได้มีการสนับสนุนโดยมีการจัดงาน“วันปอเทือง”ส่งเสริมผลิตผลจากเกษตรกรทั้งทางตรงและทางอ้อม
……………………………………………………………
ประชากร
1. ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ปี พ.ศ.2562
– ประชากรทั้งสิ้น 10,891 คน แยกเป็น ชาย 5,312 คน หญิง 5,579 คน
– จำนวน ครัวเรือน 3,154 ครัวเรือน
ตารางแสดงจำนวนประชากรของตำบลดงใหญ่ พ.ศ.2562
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน ชาย หญิง รวม
1 บ้านดงใหญ่ 198 282 269 551
2 บ้านโนนโชงโลง 173 316 310 626
3 บ้านศาลา 308 394 441 835
4 บ้านข่อยงาม 157 241 284 525
5 บ้านดงใหญ่ 311 407 500 907
6 บ้านขามใต้ 146 273 287 560
7 บ้านกล้วย 154 289 309 598
8 บ้านโนนขาม 171 280 277 557
9 บ้านมะกอก 147 277 275 552
10 บ้านซาด 270 521 523 1,044
11 บ้านส าโรงช่องแมว 81 152 142 294
12 บ้านรัตนภพ 200 321 303 624
13 บ้านดงเย็น 165 262 273 535
14 บ้านโนนกุ่ม 102 184 172 356
15 บ้านโนนกระเพรา 46 84 91 175
16 บ้านโนนซาดไผ่ล้อม 79 121 154 275
17 บ้านดงใหญ่พัฒนา 118 223 231 454
18 บ้านกล้วยสามัคคี 138 310 308 618
19 บ้านใหม่โนนโชงโลง 58 110 124 234
20 บ้านเก่าพัฒนา 132 265 306 571
รวม 3,154 5,312 5,579 10,891
* ข้อมูล สำนักงานทะเบียนราษฎร อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ณ วันที่ 22 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ตารางแสดงจำนวนประชากรของตำบลดงใหญ่ เปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ.2559-2561
ปี พ.ศ. ครัวเรือน ชาย หญิง รวมประชากรทั้งสิ้น
2559 3,070 5,320 5,590 10,910
2560 3,098 5,317 5,586 10,903
2561 3,120 5,333 5,591 10,924
ตารางแสดงจำนวนประชากร
จากผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.) ปี 2562
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,562 ครัวเรือน ประชากร 8,699 คน ชาย 4,205 คน หญิง 4,494 คน
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย ฟญิง รวม
1 บ้านดงใหญ่ 132 240 239 479
2 บ้านโนนโชงโลง 161 261 255 516
3 บ้านศาลา 222 333 372 705
4 บ้านข่อยงาม 126 201 248 449
5 บ้านดงใหญ่ 245 351 412 763
6 บ้านขามใต้ 120 234 228 462
7 บ้านกล้วย 127 183 204 387
8 บ้านโนนขาม 116 166 198 364
9 บ้านมะกอก 133 240 256 496
10 บ้านซาด 237 349 363 712
11 บ้านสำโรงช่องแมว 65 133 131 264
12 บ้านรัตนภพ 158 282 269 551
13 บ้านดงเย็น 112 177 193 370
14 บ้านโนนกุ่ม 90 114 122 236
15 บ้านโนนกระเพรา 43 65 64 129
16 บ้านโนนซาดไผ่ล้อม 66 113 138 251
17 บ้านดงใหญ่พัฒนา 102 187 203 390
18 บ้านกล้วยสามัคคี 131 248 235 483
19 บ้านใหม่โนนโชงโลง 54 104 115 219
20 บ้านเก่าพัฒนา 122 224 249 473
ตำบลดงใหญ่ 2,562 4,205 4,494 8,699
สรุปประชากรที่อาศัยอยู่จริง ณ วันสำรวจ
ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.) ปี 2562
2. ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ตารางแสดงจำนวนประชากร ( แยกตามช่วงอายุ )
ที่อยู่อาศัยในครัวเรือนในวันสำรวจ
ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.) ปี 2562
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,562 ครัวเรือน ประชากร 8,699 คน ชาย 4,205 คน หญิง 4,494 คน
ช่วงอายุ ชาย (คน) หญิง (คน) รวม (คน)
1 เดือน – 5 เดือน 1 2 3
6 เดือน – 1 ปี 0 เดือน 12 6 18
1 ปี 1 เดือน – 2 ปี 28 17 45
3 ปี – 5 ปี 136 137 273
6 ปี – 12 ปี 375 338 713
13 ปี – 14 ปี 107 104 211
15 ปี – 18 ปี 227 221 448
19 ปี – 25 ปี 401 391 792
26 ปี – 34 ปี 455 479 934
35 ปี – 49 ปี 916 968 1,884
50 ปี -59 ปี 666 745 1,411
60 ปี ขึ้นไป 881 1,086 1,967
รวมทั้งหมด 4,205 4,494 8,699
* ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอพิมาย
ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.) ปี 2562
…………………………………………………….
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
1. การนับถือศาสนา
ตำบลดงใหญ่มีวัด/สำนักสงฆ์ 9 แห่ง
ประชาชน 99 % นับถือศาสนาพุทธ
2. ประเพณีและงานประจำปี
– ประเพณีสวดมนต์ข้ามปี ทำบุญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดือน มกราคม
– ประเพณีสงกรานต์ วันผู้สูงอายุ และวันครอบครัว เดือน เมษายน
– ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา เดือน กรกฎาคม
– ประเพณีทำบุญออกพรรษา ตักบาตรเทโว เดือน ตุลาคม
– ประเพณีลอยกระทง เดือน พฤศจิกายน
– การจัดงานวันท้องถิ่นไทย เดือน มีนาคม
– การจัดงานแข่งขันกีฬาตำบลดงใหญ่ เดือน ตุลาคม
– การจัดงาน 12 สิงหามหาราชินี เดือน สิงหาคม
– การจัดงาน 5 ธันวามหาราช เดือน ธันวาคม
3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
– ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ งานจักสาน งานช่างไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ งานประดิษฐ์ และดนตรีพื้นบ้าน
– ภาษาถิ่นที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาโคราช ไทยเด้ง ไทยดา รองลงมาเป็นภาษากลาง และภาษอีสาน (ลาว)
4. สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
– เสื่อกก หมู่ที่ 1, 12
– ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น หมู่ที่ 12
– ข้าวกล้องงอก หมู่ที่ 14
– ข้าวเม่าโบราณ หมู่ที่ 14
………………………………………………………..
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ
1. น้ำ
1. แม่น้ำมูล คือ แม่น้ำสายสำคัญของชาวตำบลดงใหญ่
2. ลำน้ำเค็ม คือ แม่น้ำสายรอง แยกมาจากแม่น้ำมูล
3. คลองชลประทาน
2. ป่าไม้
ตำบลดงใหญ่ มีพื้นที่ป่าไม้เป็นป่าเบญจพรรณ ส่วนใหญ่ค่อนข้างแห้งแล้ง ชุ่มชื่นในช่วงฤดูฝนมีต้นไม้หลายชนิด หลายพันธ์ ปะปนกันไปเป็นจำนวนมาก
3. ภูเขา
ตำบลดงใหญ่ มีลักษณะพื้นที่ราบเรียบ ไม่มีภูเขาหรือแนวเทือกเขา จึงทำให้บริเวณพื้นที่มีอากาศร้อน อุณหภูมิข่อนข้างสูงในช่วงฤดูร้อน ช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม
4. ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ แม่น้ำมูลและลำน้ำเค็ม เป็นแม่น้ำตามธรรมชาติไหลผ่านพื้นที่ทำการเกษตรของตำบลดงใหญ่ ทำให้มีแหล่งน้ำใช้ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ และเป็นแหล่งผลิตน้ำใช้ตลอดทั้งปี มีสัตว์น้ำตามธรรมชาติที่ประชาชนสามารถนำมาบริโภคและจำหน่ายได้ มีต้นไม้สองฝั่งแม่น้ำสามารถนำมาแปรรูปใช้ประโยชน์ได้ ดินมีความอุดสมบูรณ์ปลูกพืชผักโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยมาก ทำให้ลดต้นทุนการผลิต
…………………………………………………………..
เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น
เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
1. ข้อมูลด้านการเกษตร
ประชากรตำบลดงใหญ่ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การทำนา โดยอาศัยน้ำฝน น้ำจากโครงการชลประทานทุ่งสัมฤทธิ์ น้ำจากลำน้ำเค็ม และน้ำจากลำน้ำมูล จึงทำให้ผลผลิตส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการเกษตร การเพาะปลูกข้าว การปลูกพืชฤดูแล้งหลังการเก็บเกี่ยวข้าว การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยในฤดูแล้ง และการปลูกพืชผักสวนครัวในพื้นที่บริเวณแหล่งน้ำเอาไว้รับประทานเอง
2. ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
แหล่งน้ำทางการเกษตร มีแหล่งน้ำสำคัญ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำมูล ลำน้ำเค็ม คลองส่งน้ำชลประทานทุ่งสัมฤทธิ์ และมีการขุดลอกบ่อน้ำในบริเวณพื้นที่ของตนเองใช้ทำการเกษตร
12
3. ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค)
ประชาชนใช้น้ำเพื่อการอุปโภคของระบบประปาหมู่บ้าน มีจำนวน 4 แห่ง และแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ส่วนน้ำเพื่อการบริโภคจากน้ำฝนที่มีการเก็บกักไว้ในช่วงฤดูฝนและซื้อน้ำดื่มที่สำเร็จรูป ซึ่งมีโรงผลิตน้ำดื่มอยู่ 2 แห่ง ในตำบล
4. ข้อมูลพื้นที่การเกษตรและที่อยู่อาศัย
องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ มีขนาดพื้นที่ประมาณ 84.43 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 52,768 ไร่ มีพื้นที่ทำเกษตร โดยแยกเป็น ดังนี้
หมู่ที่ บ้าน พื้นที่ทำการเกษตร (ไร่) พื้นที่อยู่อาศัย (ไร่) พื้นที่สาธารณะ (ไร่)
1 ดงใหญ่ 987 76
2 โนนโชงโลง 2,443 111
3 ศาลา 6,756 110
4 ข่อยงาม 2,729 140
5 ดงใหญ่ 5,630 110
6 ขามใต้ 2,196 80
7 กล้วย 2,045 80
8 โนนขาม 2,472 90
9 มะกอก 3,871 110
10 ซาด 2,806 100
11 โนนสำโรงช่องแมว 1,447 70
12 รัตนภพ 2,236 90
13 ดงเย็น 1,109 76
14 โนนกุ่ม 2,617 60
15 โนนกระเพรา 1,332 65
16 โนนซาด-ไผ่ล้อม 1,223 75
17 ดงใหญ่พัฒนา 1,537 60
18 กล้วยสามัคคี 1,650 110
19 ใหม่โนนโชงโลง 1,650 65
20 เก่าพัฒนา 968 50
รวม 47,181 1,728 3,859
………………………………………………………………
วัด/โรงเรียน
ตำบลดงใหญ่มีวัด/สำนักสงฆ์ 9 แห่ง ประชาชน 99 % นับถือศาสนาพุทธ
ด้านการศึกษา
ระดับ สังกัด จำนวนนักเรียน จำนวนผู้สอน
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงใหญ่ อบต.ดงใหญ่ 57 ครูผู้ดูแลเด็ก 2 คน
ผู้ดูแลเด็ก 1 คน
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนโชงโลง อบต.ดงใหญ่ 30 ครูผู้ดูแลเด็ก 1 คน
ผู้ดูแลเด็ก 1 คน
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกล้วย อบต.ดงใหญ่ 28 ครูผู้ดูแลเด็ก 1 คน
ผู้ช่วยผู้ดูแลเด็ก 1 คน
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านมะกอก อบต.ดงใหญ่ 20 ครูผู้ดูแลเด็ก 1 คน
ผู้ช่วยผู้ดูแลเด็ก 1 คน
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลา อบต.ดงใหญ่ 19 ผู้ดูแลเด็ก 1 คน
ผู้ช่วยผู้ดูแลเด็ก 1 คน
2. โรงเรียนประถมศึกษา(อนุบาล–ป.6)
– โรงเรียนบ้านศาลา สพฐ. เขต 7 78
– โรงเรียนบ้านขามใต้ สพฐ. เขต 7 40
– โรงเรียนบ้านมะกอก สพฐ. เขต 7 156
– โรงเรียนบ้านกล้วย สพฐ. เขต 7 208
– โรงเรียนบ้านโนนโชงโลง สพฐ. เขต 7 245
– โรงเรียนบ้านดงประชานุกุล สพฐ. เขต 7 383
3. ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน อบต.ดงใหญ่ 20 แห่ง
4. ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลดงใหญ่ กศน. อ.พิมาย 1 แห่ง
อบต.ดงใหญ่ 1 แห่ง
……………………………………………………………………..
แหล่งท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว
ตำบลดงใหญ่มีแหล่งท่องเที่ยว 3 แห่ง
1. วัดดงใหญ่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา เป็นวัดที่สวยงาม เหมาะสำหรับทำบุญ ถ่ายรูป และมีสวนสาธารณะไทรงาม มีสระน้ำขนาดใหญ่ สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย
2. แหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาวัดบ้านกล้วย มีลำน้ำเค็มเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ มีปลาพันธุ์ต่าง ๆ มาอาศัยอยู่บริเวณสะพานปลา ซึ่งชาวบ้านได้อนุรักษ์ไว้ไม่ให้มีการจับสัตว์น้ำบริเวณนั้น ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชน
3. สวนไทยศิลป์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเอกชน มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำมูล เหมาะสำหรับพักผ่อน เล่นน้ำ คลายร้อนในช่วงเทศกาลสงกรานต์
…………………………………………………..
การบริการพื้นฐาน
ระบบบริการพื้นฐาน
1. การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ สามารถคมนาคมได้เฉพาะทางบก สภาพเส้นทางคมนาคมมีลักษณะเป็นถนนลาดยางสายหลัก ถนนคอนกรีต ถนนหินคลุก และถนนดิน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคอนกรีตและถนนหินคลุก ในช่วงฤดูฝนถนนจะมีความเสียหายเป็นบางส่วน การสัญจรมีความสะดวกโดยเฉพาะเส้นทางหลักจากตำบลดงใหญ่ไปสู่อำเภอพิมาย ส่วนที่ต้องมีการก่อสร้างและปรับปรุงบ่อยจะเป็นถนนหินคลุกของหมู่บ้านและถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านและตำบลเป็นบางเส้นทาง
2. การไฟฟ้า
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ขยายเขตครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ประชาการที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 2,987 ครัวเรือน
3. การประปา
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่ ใช้น้ำของระบบประปาหมู่บ้าน มีจำนวน 4 แห่ง ได้แก่
1. ประปาบ้านขามใต้ หมู่บ้านที่ใช้น้ำประปา ม.1, 4, 5, 6, 11, 12, 13, 17, 20
2. ประปาบ้านมะกอก หมู่บ้านที่ใช้น้ำประปา ม.2, 8, 9, 15, 16, 19
3. ประปาบ้านกล้วย หมู่บ้านที่ใช้น้ำประปา ม.7, 10, 18
4. ประปาบ้านศาลา หมู่บ้านที่ใช้น้ำประปา ม.3, 14
4. การโทรศัพท์
การโทรคมนาคม ส่วนใหญ่ประชาชนจะใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มีความสะดวกรวดเร็ว คือ โทรศัพท์มือถือ และโทรศัพท์บ้าน
โทรศัพท์สาธารณะ – แห่ง
5. ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง